หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

เจ้านายกับลูกน้อง

           มีเพื่อนใน Facebook ถามผมในทำนองว่าเมื่อไม่ชอบใจ หรือรู้สึกไม่ดีต่อหัวหน้างานจะทำอย่างไร คำถามนี้ผมคิดว่าหลายท่านคงมีประสบการณ์กันไม่มากก็น้อยขึ้นกับว่าเราเปลี่ยนงานบ่อยแค่ไหน การเปลี่ยนงานซึ้งเกิดจากการขัดแย้ง หลายครั้งเราอาจแก้ปัญหาของความรู้สึกที่ไม่ดีต่อหัวหน้าด้วยการลาออก เมื่อพบหัวหน้าที่ไม่ชอบอีกก็ลาออก ลาออก ลาออก ผมคิดว่าเราควรหันเข้าหาหลักความจริงข้อหนึ่งครับนั่นคือ เราสามารถเลือกงานได้ แต่เราเลือกหัวหน้าไม่ได้ครับ หัวหน้าที่เราพบอาจมีคุณลักษณะที่ไม่ต้องตาต้องใจเรา แต่นั่นก็ไม่ใช่ว่าเค้าจะไม่มีส่วนดี สิ่งสำคัญลองหาส่วนที่ดีเค้าครับว่ามีอะไรบ้าง เพราะการที่เราจะทำงานร่วมกันนั้นสิ่งสำคัญคือถ้อยทีถ้อยอาศัยกันครับ หนักนิดเบาหน่อยอาจต้องให้อภัยกัน ในฐานะผู้ปฏิบัติเราก็ต้องมาดูว่าอะไรคือบทบาทหน้าที่ ที่เราต้องทำแล้วเราทำได้ดีหรือไม่ ผมมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าถ้าตัวเราได้ทำหน้าที่ของเราได้ดีแล้ว เราก็ไม่ต้องกลัวอะไร เพราะความดีที่เราได้ทำไว้จะเป็นเกราะที่ป้องกันสิ่งไม่ดีต่างๆ แม้หัวหน้าที่เป็นสายตรงของเราไม่ค่อยสนับสนุนด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม แต่คนภายนอก คนรอบข้างย่อมรู้ ย่อมเห็นในความดีที่เราได้ทำไว้สิ่งที่ผมกล่าวมานี้มิใช่ว่าจะสนับสนุนหัวหน้าที่ไม่ดีกับลูกน้องน่ะครับ ผมก็ต่อต้านเหมือนกัน แต่ทว่าเราต้องสำรวจตนเองก่อนครับว่าถ้าเราทำอย่างนั้นผลจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้าในระบบเอกชนอาจสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ระบบราชการผมคิดว่ายากครับ ผมจึงอยากบอกว่าอย่าให้อคติหรือความเป็นตัวเรามาบดบังความจริงที่เกิดขึ้น เพราะยิ่งเราไม่ชอบหัวหน้างาน แล้วยังทำงานของเราไม่เต็มที่คนที่ลำบากอาจต้องเป็นตัวเราครับ  ดังนั้นรับผิดชอบงานของเราให้ดีที่สุด ถ้าเป็นไปได้ลองพูดคุยแล้วลองสังเกตว่ามีช่องทางไหนบ้างที่เราจะช่วยเหลืองานของหัวหน้า ผมคิดว่าหัวหน้าทุกคนชอบที่จะให้ลูกน้องเสนอตัวขึ้นมาช่วยงาน ได้พูดคุยกัน ผมคิดว่าบรรยากาศการทำงานน่าที่จะดีขึ้นครับ ในการนี้ผมขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาศึกษาครับ


คนที่เป็นผู้ใหญ่นั้น เขามีประสบการณ์
ส่วนคนหนุ่มสาวเขามีพลังแรง ทั้งร่างกายและความคิด
ถ้าหากมาปรองดองสมัครสมานกัน ทำงานอย่างพร้อมเพรียง
ไม่ผิดใจไม่แคลงใจกัน การบ้านการเมืองจะดำเนินไปได้ด้วยดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น